รองนายกฯ “อนุทิ
18 กรกฎาคม 2567 / นายอนุท...
2 กรกฎาคม 2567 – พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่4/2567 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (จ.นครราชสีมา จ.ชัยภูมิ จ.บุรีรัมย์ และ จ.สุรินทร์) โดยนายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ. ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการ กอศ. และผู้บริหารระดับพื้นที่ เข้าร่วม ณ โรงเรียนโชคชัยสามัคคี และวิทยาลัยเทคนิคปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
รมว.ศธ. กล่าวว่า จากการประชุมคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้มีข้อแนะนำเรื่องปัญหายาเสพติดที่เกิดในสถานศึกษา ซึ่งเน้นย้ำให้ผู้เรียน “ห่างไกลยาเสพติด รู้รักสามัคคี เทิดทูนสถาบัน“ ฝากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดูแลการดำเนินงานนโยบายดังกล่าว ช่วยกันทำให้ผู้เรียนตระหนักถึงภัยของยาเสพติดและสิ่งอบายมุขทุกประเภท รวมถึงสอนให้รู้รักสามัคคีสอดคล้องกับนโยบาย “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน”
สิ่งที่อยากให้เรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อให้เกิดเป็นแนวทางคือการเทิดทูนสถาบัน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ ได้ร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงนามบันทึกข้อตกลง “แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทย สร้างจิตสำนึกความเป็นไทย” เพื่อสร้างความเข้าใจให้ผู้เรียนรักชาติ เกิดความผูกพันด้วยใจโดยไม่มีการบังคับ เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวในการเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ
ทั้งนี้ รมว.ศธ.ได้ตรวจเยี่ยมโรงเรียนในพื้นที่ที่ขับเคลื่อนนโยบาย “สุขาดี มีความสุข” สู่การปฎิบัติผ่านระบบประชุมออนไลน์ ได้แก่ รร.โชคชัยสามัคคี รร.ราชสีมาวิทยาลัย รร.บุญวัฒนา รร.สุรธรรมพิทักษ์ และนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ไปปฏิบัติตามและพัฒนาจนเกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
จากนั้น รมว.ศธ.และคณะได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมวิทยาลัยเทคนิคปักธงชัย พร้อมมอบนโยบายการจัดการศึกษากับผู้บริหารในพื้นที่
รมว.ศธ. กล่าวว่า ฝากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา ดำเนินงานในส่วนของนโยบาย “สุขาดี มีความสุข” ตามแนวทาง “สะอาด สะดวก สบาย สุขลักษณะ สวยงาม” เน้นความประหยัดเรียบง่าย และถามความคิดเห็นของผู้ใช้ประโยชน์ เพื่อตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” อยากให้ทุกหน่วยงานขับเคลื่อนให้ครบถ้วนเรียบร้อยภายในปีงบประมาณนี้ เมื่อเสร็จสิ้นแล้วจะได้จัดการในส่วนอื่นต่อไป
ทุกการดำเนินงานควรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วม และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรความรู้ ให้เกิดกระบวนการพัฒนานักเรียน พัฒนาผู้บริหารและครู ไปจนถึงบริหารจัดการแลกเปลี่ยนแบ่งปันทรัพยากร สร้างความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันส่งต่อสิ่งสร้างสรรค์ไปยังสถาบันใกล้เคียง
อยากให้ทุกฝ่ายร่วมกัน ”ปฏิวัติการศึกษา แก้ไขปัญหาประเทศ“ ถ้อยคำอาจดูรุนแรงแต่หากดูในความหมายอย่างลุ่มลึกจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและเร่งด่วนเพราะเรื่องของการศึกษาเราจะช้าไม่ได้ ต้องพัฒนาการเรียนรู้ Upskill – Reskill ทำให้ผู้เรียนของเรามีการศึกษาที่ดี และเป็นคนมีคุณภาพตอบโจทย์การศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ และการศึกษาเพื่อความมั่นคงในชีวิต
“เชื่อว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่อยากให้เด็กไปเรียนไกลบ้าน หากเราสร้างโรงเรียนในพื้นที่ของเราให้มีคุณภาพ เด็กก็จะสามารถเรียนเหมือนกันได้ทุกที่ ไม่ต้องเดินทางเข้าเมืองเพื่อหาสถานศึกษาที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง” รมว.ศธ. กล่าว
ปลัด ศธ. กล่าวว่า ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับศึกษาธิการภาค (ศธภ.) และศึกษาธิการจังหวัด (ศธภ.) คือการยกระดับคุณภาพการศึกษา ตามแนวทาง “เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ดังนั้น ศธจ.จะต้องประสานงานกับทุกหน่วยงานที่มีการจัดการศึกษาเพื่อที่จะก้าวไปพร้อมกัน และการขับเคลื่อนนโยบายต้องเข้าใจและศึกษาทิศทางการขับเคลื่อนอย่างถ่องแท้ เพราะ ศธจ. มีบทบาทหน้าที่หลักในการประสานกับหน่วยงานที่มีการจัดการศึกษา
เรื่องสำคัญคือการขับเคลื่อนนโยบายระดับภูมิภาค ที่คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค (คปภ.) ได้เพิ่มบทบาท ศธจ.เป็นคณะอนุฯ ขับเคลื่อนนโยบาย ดังนั้น ศธจ.จะต้องดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายต่าง ๆ รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่แทนหน่วยงานที่ไม่มีหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ เช่นสภาการศึกษา ซึ่งคปภ.ได้มีนโยบายให้จัดทำแผนจัดการศึกษาระดับจังหวัดโดยบูรณาการเชื่อมโยงทุกหน่วยงาน ทุกสังกัด ซึ่งตอนนี้มีการนำร่อง 9 จังหวัด และจะขยายผลต่อไปจนครบ 77 จังหวัด ตามนโยบาย รมว.ศธ.
สำหรับสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้บูรณาการร่วมกับ ศธภ. ศธจ. และผู้ตรวจราชการ ศธ. ในการจัดทำแผนการจัดการศึกษา โดยเฉพาะในกลุ่ม “นครชัยบุรินทร์” (จ.นครราชสีมา จ.ชัยภูมิ จ.บุรีรัมย์ และ จ.สุรินทร์) ซึ่งในอนาคตข้างหน้าจะต้องทำแผนฯ และจัดสรรงบประมาณอย่างเชื่อมโยงไปด้วยกัน
อย่างไรก็ตามเราต้องทำงานแบบคู่ขนาน ศึกษาข้อมูลจังหวัดใกล้เคียงที่เป็นจังหวัดนำร่องที่สภาการศึกษาได้ดำเนินการไว้ รวมถึงศึกษาในส่วนของกรุงเทพมหานครที่จัดทำแผนการศึกษา Sandbox ซึ่งได้ประสานงานกับหน่วยงานที่มีการจัดการศึกษาทุกภาคส่วน การดำเนินงานก็จะเชื่อมโยงไปในทิศทางเดียวกัน
พบพร ผดุงพล / ข่าว
พีรณัฐ ยุชยะทัต / ภาพ
นัทสร ทองกำเหนิด / Tik Tok
The post รมว.ศธ. “เพิ่มพูน” ลงพื้นที่ ครม.สัญจร นครราชสีมา เน้นย้ำทิศทางดำเนินงานระดับพื้นที่ ”ปฏิวัติการศึกษา แก้ไขปัญหาประเทศ“ appeared first on กระทรวงศึกษาธิการ.