ประกาศ อ.ก.ค.ศ. สำน
The post ประกาศ อ.ก.ค.ศ. สำน...
จากการบรรยายออนไลน์ “ความท้าทายในการบริหารงานบุคลากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่พึงประสงค์ของผู้เรียน” ในรายวิชา การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2564 รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. ได้อธิบายถึงที่มาที่ไป รวมถึงกรอบแนวคิดในการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ ทั้ง 4 สายงาน โดยได้พูดถึงประเด็นสำคัญ ดังนี้
กรอบแนวคิดสำคัญในการปฏิรูปวิชาชีพครู
1. Back to school (กลับไปเริ่มต้นทุกอย่างที่โรงเรียน)
2. Focus on classroom (หัวใจสำคัญอยู่ในห้องเรียน)
3. Teacher = Key Success (ครู คือ กุญแจความสำเร็จ)
4. School as Organization (ทำโรงเรียนให้เป็นองค์กรในการเรียนรู้)
ทั้ง 4 ข้อนี้ คือแนวคิดสำคัญในการปรับมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะฯใหม่ โดยมุ่งหวังให้ครูมีเวลาในการจัดการเรียนการสอน (#คืนครูสู่ห้องเรียน) สร้างกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เป็นระบบภายในโรงเรียน ซึ่งสุดท้ายผลลัพธ์ที่ได้จะเกิดกับผู้เรียน
กรอบแนวคิดสำคัญในการปฏิรูปวิชาชีพครู
Performance ของครู และจุดเชื่อมโยงสู่หลักการประเมินคลิปการสอน ตามเกณฑ์ฯ ใหม่
หลักสำคัญในการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อ ซึ่งจะใช้ในการประเมินคลิปการสอนของครู
1. การสอนของครูมีการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ที่จะเรียนรู้หรือไม่?
2. การสอนครั้งนั้น เด็กได้มีโอกาสในการสร้างความรู้ขึ้นมาใหม่หรือไม่?
3. วิธีการสร้างแรงจูงใจให้เด็กสนใจในการเรียนเป็นอย่างไร?
4. ครูมีวิธีการออกแบบให้เด็กได้สืบค้นข้อมูล หาความรู้ด้วยตัวเองย่างไร?
5. ครูให้เด็กฝึกปฏิบัติ และสร้างปฏิสัมพันธ์กับเด็กเพื่อเพิ่มการเรียนรู้อย่างไร?
6. ครูออกแบบสิ่งแวดล้อมในการจัดการเรียนการสอน การใช้สื่อ เพื่อให้เด็กพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างไร?
7. เด็กได้ฝึกการกำกับตัวเองในการเรียนรู้หรือไม่?
8. ความถูกต้อง ความเชี่ยวชาญในเนื้อหาที่ใช้สอนเป็นอย่างไร?
ทั้งหมดนี้ เป็นแนวทางในการออกแบบให้ครูได้พัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอน สร้างการมีส่วนร่วมภายในโรงเรียน ซึ่งจะสะท้อนภาพของกระบวนการ Professional Learning Community (PLC) ที่เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นธรรมชาติ โดยมีผู้บริหารเป็นผู้นำแนวทางกระบวนการนี้ภายในโรงเรียน
Performance ของครู และจุดเชื่อมโยงสู่หลักการประเมินคลิปการสอน ตามเกณฑ์ฯ ใหม่
Performance ของผู้บริหาร และที่มาของ “ตัวชี้วัดในการประเมินวิทยฐานะของผู้บริหาร ตามเกณฑ์ฯ ใหม่
งานวิจัยจากทั่วโลกแสดงให้เห็นว่า “สิ่งที่คุณครูคาดหวังจากผู้บริหารมากที่สุด คือ ความเป็นผู้นำทางวิชาการ” ซึ่งจะสะท้อนได้จากการเป็นผู้นำการเรียนการสอน ที่สำคัญ คือ การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) ในโรงเรียน โดยต้องโฟกัส 7 ประเด็น ซึ่งเป็นที่มาของ “ตัวชี้วัดในการประเมินวิทยฐานะของผู้บริหารตามเกณฑ์ฯ ใหม่ ดังนี้
บทบาทของผู้บริหาร
1. ต้องพยายามค้นหากระบวนการ วิธีการยกระดับผลลัพธ์ของผู้เรียนให้สูงขึ้น และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. ต้องมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพของหลักสูตร และคุณภาพของผู้เรียน
3. ต้องเป็นผู้นำในการพัฒนาสมรรถนะหลักของครู คือ ทักษะการจัดการเรียนการสอน
4. เป็นผู้นำที่มีความเป็นโค้ช โดยต้องรู้สภาพของครู รู้จักวิธีการสอนของครู เข้าใจบริบทของห้องเรียน และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของเด็ก
5. มุ่งเน้นกระบวนการทำงานร่วมกับครูในการพัฒนาการศึกษา
6. มีการใช้งานวิจัย หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงและทดลองสิ่งใหม่ ๆ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนได้
7. ต้องเป็นผู้นำในการระดมทรัพยากร สร้างพันธมิตรในการทำงาน เชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้
Performance ของผู้บริหาร และที่มาของ “ตัวชี้วัดในการประเมินวิทยฐานะของผู้บริหาร ตามเกณฑ์ฯ ใหม่
ขอบคุณข้อมูลจาก : otepc.go.th