เสมา 1 มั่นใจ เงิ
8 พฤษภาคม 2567 / พลตำรวจเ...
19 กันยายน 2567 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบรางวัลสื่อสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาระบบราชการของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมี นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ., นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการ กอศ., ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ., นายธนากร ดอนเหนือ อธิบดี สกร. ผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้รับรางวัลฯ เข้าร่วม ณ ห้องประชุมบุณยเกตุ หอประชุมคุรุสภา
รมว.ศธ. กล่าวว่า ขอชื่นชมหน่วยงาน สถานศึกษาทุกสังกัด ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ โรงเรียน และหน่วยงานทุกหน่วยงาน ที่ได้ร่วมสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมในการทำงานและการยกระดับการให้บริการ และดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ กิจกรรมการประกวดสื่อสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาระบบราชการฯ ถือเป็นมิติที่ดีที่จะช่วยกระตุ้นให้พวกเราเห็นความสำคัญของการบริหารจัดการ และการพัฒนาวิธีการทำงาน
โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล แพลตฟอร์มต่าง ๆ หรือโซเชียลมีเดีย (Social Media) มาใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อทำให้งานมีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ผู้รับบริการมากยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางในการบริหารงานของ รมว.ศธ. ที่ได้กำหนดแนวทางเพื่อให้ส่วนราชการในสังกัดและในกำกับของ ศธ. นำไปยึดถือเป็นปฏิบัติ “ ด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารงาน และการปฏิบัติงานของส่วนราชการ เป็นผู้บริหารยุคใหม่ก้าวล้ำเทคโนโลยี ใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการและปรับรูปแบบการทำงานเป็นดิจิทัล มี Platform รองรับการปฏิบัติงานที่เป็นระบบ”
กิจกรรมที่จัดขึ้นในวันนี้จึงเป็นกลไกสำคัญกลไกหนึ่ง ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลด้านการศึกษา คือ ประเทศจะต้องพัฒนาระบบการศึกษา ทั้งในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาสนับสนุน ตอบโจทย์ ศักยภาพผู้เรียน ลดภาระและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ และสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้องการลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยการนำระบบเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารงาน
การพัฒนาระบบราชการของกระทรวงศึกษาธิการ ต้องบูรณาการการทำงานร่วมกัน เริ่มตั้งแต่การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการทั้งระยะสั้นและระยะยาว การปรับตัวให้เป็นองค์กรที่ทันสมัย ก้าวไปสู่การเป็น รัฐบาลดิจิทัล นำนวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัล มาพัฒนาปรับปรุง วิธีการหรือกระบวนการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้รับบริการทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงช่องทางการให้บริการที่หลากหลายได้ ตลอดจนเพื่อสามารถนำเครื่องมือเหล่านั้นมาพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา เพื่อประโยชน์โดยตรงกับผู้เรียน
ภายใต้นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ขอให้ทุกท่านร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายของ ศธ. ทั้งการลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง ด้วยการเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime) การส่งเสริมให้มีระบบหรือแพลตฟอร์มการเรียนรู้ นำสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเป็นแหล่งสืบค้นข้อมูล โดยผู้เรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ก่อให้เกิดประโยชน์ในการจัดการศึกษาของชาติโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน ทำให้การพัฒนาทักษะและศักยภาพของผู้เรียนและครูผู้สอนให้ก้าวทันยุคดิจิทัล เกิดการเรียนรู้อย่างไร้ขีดจำกัด หรือนโยบายภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้วยการปรับวิธีการประเมินวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษาผ่านระบบออนไลน์ และนโยบายที่สำคัญต่าง ๆ หวังเป็นอย่างยิ่งว่ากิจกรรมในวันนี้ จะทำให้บุคลากรทุกท่านหันมาให้ความสำคัญกับ “การพัฒนา ส่งเสริม และสร้างสรรค์” ให้ความสำคัญกับพัฒนาระบบบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อนำไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล
“ขอฝากถึงการดำเนินการผลิตสื่อฯ ขอให้ทุกคนใส่ความคิดสร้างสรรค์ ไม่ยึดติดรูปแบบเดิม ปรับเปลี่ยนเรื่องราวที่ต้องการสื่อสารให้มีความน่าสนใจ คิดนอกกรอบ เพราะบางทีอาจจะเห็นได้ว่าสื่อที่เผยแพร่ออกไปไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร สาเหตุอาจจะเกิดจากขาดสิ่งดึงดูด เนื้อหาไม่น่าสนใจ ซึ่งปัจจุบันผู้คนจะรับชมสื่อต่าง ๆ ในเวลาที่สั้นลง ดังนั้นคลิปที่ดีนั้นจึงต้องมีเนื้อหาที่เข้าใจง่าย กระชับ และไม่ควรเกิน 1 นาที แบ่งเป็นสตอรี่ หรือเป็นซ็อตสั้น ๆ เพื่อสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ดีที่สุด”
จากนั้น รมว.ศธ. ได้ให้เกียรติมอบโล่และเกียรติบัตรรางวัลสื่อสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาระบบราชการของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รวม 2 ประเภทรางวัล ประกอบด้วย รางวัลนวัตกรรมการทำงานและยกระดับการให้บริการ จำนวน 27 รางวัล รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ผลงาน “สพม.เชียงราย บริการคลิกเดียวจบ ครบทุกความต้องการ” โดย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมเชียงราย สังกัด สพฐ. และรางวัลแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 19 รางวัล รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ผลงาน “อาชีวะเรียนดีมีความสุข” โดย วิทยาลัยเทคนิคจันทบุรี สังกัด สอศ.
ในการนี้ นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติหน้าที่โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ ได้บรรยายพิเศษพร้อมให้แนวคิดผ่านสื่อวีดิทัศน์ “ผลิตสื่อที่สร้างสรรค์อย่างไรให้ว้าว”
ลิ้งก์สื่อวีดิทัศน์ https://web.facebook.com/MOE360degree/videos/494112880103492
โดยสรุปตอนหนึ่งว่า กิจกรรมประกวดสื่อสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาระบบราชการ สำหรับในปีนี้เป็นการจัดกิจกรรมในปีที่ 3 ต้องขอขอบคุณเครือข่ายเพื่อการพัฒนาระบบราชการของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้ร่วมริเริ่มและดำเนินการจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในครั้งนี้
โซเชียลมีเดีย (Social Media) หรือสื่อสังคมออนไลน์ คือ แพลตฟอร์มดิจิทัลที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้คนสามารถเชื่อมต่อ ติดต่อสื่อสาร ส่งต่อ และแบ่งปันข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็วผ่านอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นข้อความ รูปภาพ วิดีโอ หรือแม้แต่กิจกรรมส่วนตัว และได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนในปัจจุบัน เพราะประโยชน์ของโซเชียลมีเดียมีมากมายหลายประการ และเป็นสื่อใหม่ที่ทำให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในอดีตนั้น จะเป็นยุคของอุตสาหกรรมสื่อที่มีอิทธิพลมากที่สุด จะมีการเผยแพร่ผ่านทางองค์กรที่ประกอบกิจการสื่อมวลชน หรือสถานีวิทยุโทรทัศน์ มีการเผยแพร่ผ่านทาง “โทรทัศน์หรือวิทยุ” แต่ในปัจจุบันทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้โซเชียลมีเดียได้อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอนทางออนไลน์ การซื้อขายสินค้าและบริการ รวมไปถึงการรับชมข่าวสารต่าง ๆ มีการรับรู้เรื่องราวข่าวสารสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างทันเหตุการณ์ และมีรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม มีการพัฒนารูปแบบสื่อ เทคโนโลยี สัญญาณเครือข่าย และพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องซึ่งแสดงให้เห็นว่าโซเชียลมีเดีย ได้เข้ามามีบทบาทในสังคมเป็นอย่างมาก
“กระทรวงศึกษาธิการทุกส่วนราชการ มีการสื่อสารกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกกระทรวง ดังนั้น เราจึงต้องยกระดับการสื่อสาร การนำเสนอข้อมูลข่าวสาร หรือสาระสำคัญต่าง ๆ ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์กรให้สามารถพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ทันสมัย สามารถพัฒนาการบริการด้านการศึกษาให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการ ขอให้ทุกท่านเห็นความสำคัญของ “การผลิตสื่อที่สร้างสรรค์ อย่างไรให้ว้าว” ให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ตรงตามบริบทของหน่วยงาน และร่วมกันพัฒนาองค์กรด้วยการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานและประชาชนให้มากที่สุด”
ปลัด ศธ. กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดงานในวันนี้เพื่อสร้างความตระหนัก และกระตุ้นให้บุคลากรกระทรวงศึกษาธิการ เห็นความสำคัญและคุณค่าของการยกระดับการบริหารจัดการ ด้วยการพัฒนาวิธีการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของหน่วยงาน พร้อมเป็นการส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานในสังกัด ศธ. ได้วางแผนเพื่อจะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนางานจนสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นที่ยอมรับ ตอบโจทย์ผู้รับบริการทุกกลุ่ม
ซึ่งตามกระบวนการประกวดสื่อสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาระบบราชการในปีนี้ ได้กำหนดให้หน่วยงานจัดทำวีดิทัศน์ที่แสดงถึงผลลัพธ์ความสำเร็จของการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัล มาพัฒนากระบวนการทำงาน การให้บริการการจัดการศึกษาส่งเข้าประกวดใน 2 ประเภทผลงาน ได้แก่ นวัตกรรมการทำงานและยกระดับการให้บริการ และแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ โดยเปิดรับสมัครในช่วงเดือนมกราคม – กรกฎาคม 2567 สำหรับการตัดสินการประกวดนั้น ได้กำหนดให้คณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้น ร่วมกับผู้ชมผ่านเพจ Facebook ศธ. 360 องศา ร่วมกันให้คะแนน
ทั้งนี้ ภายในงานมีการเสวนา หัวข้อ “เรื่องเล่าจากสื่อสร้างสรรค์ สู่การพัฒนาการศึกษาไทยในยุคดิจิทัล” โดย นายสมใจ วิเศษทักษิณ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ นายกมล เรืองไธสง ผอ.วิทยาลัยเทคนิคจันทบุรี และนายณรงค์ คำสุขุม รอง ผอ.สพม.เชียงราย
อานนท์ วิชานนท์ / ข่าว
สมประสงค์ ชาหารเวียง / Facebook Live
ศุภณัฐ วัฒนะมงคลลาภ, พีรณัฐ ยุชยะทัต
ศศิวัฒน์ แป้นคุ้มญาติ / ภาพ
ณรชัย ฉิมพาลี / TikTok
The post เสมา 1 แนะเคล็ดลับผลิตสื่อให้โดนใจ ใส่ความคิดสร้างสรรค์ มองนอกกรอบ เนื้อหากระชับเข้าใจง่าย appeared first on กระทรวงศึกษาธิการ.